วัคซีนพืชบิ๊ก

ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัคซีนพืชบิ๊ก
โรคทุเรียน

เตรียมรับมือ โรคทุเรียน ในฤดูฝน โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา มีวิธีการรับมืออย่างไร ?

              ศัตรูที่สำคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็ก ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา โรคทุเรียน ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาสำคัญ คือ วัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ทั้ง การใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือ หรือใช้สารเคมี เพื่อป้องกัน  โดยต้องระมัดระวัง อย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือนและระวังไม่ให้ละอองสารเคมีกำจัดวัชพืชสัมผัสกับต้นทุเรียน (กรมวิชาการเกษตร) โรคทุเรียน

โรคทุเรียน ชนิดต่างๆ

1. โรคทุเรียน โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา

  • โรคเข้าทำลายใบ ให้พ่นสารเมตาแลกซิล หรือ อีฟอไซท์อลูมินั่ม หรือ กรดฟอสฟอรัส   ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม
  • โรคที่ระบบราก ใช้สารเมตาแลกซิล ราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของราก
  • โรคที่ลำต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยปูนแดง หรือ สารเมตาแลกซิล ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้ กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้าลำต้น หรือกิ่ง ในบริเวณตรงข้าม หรือ ส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดี ใกล้บริเวณที่เป็นโรค
โรครากเน่าโคนเน่า

2. โรคใบติด

โรคใบติดทุเรียน
  • พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม

3. เพลี้ยไก่แจ้

  • เมื่อพบยอดทุเรียนถูกทำลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยสารแลมป์ดา ไซฮาโลทริน หรือคาร์บาริลหรือไซเปอร์เมทริน/โฟซาโลน ทุก 7 ถึง 10 วันจนใบแก่

4. ไรแดง

ไรแดง ทุเรียน
  • พ่นสาร โพรพาไกต์ สลับกับสารเอกซีไทอะซอกซ์

5. หนอนเจาะผล

หนอนเจาะผลทุเรียน
  • พ่นด้วยสารสะเดา หรือสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน หรือคาร์โบซัลแฟน หรือไซเพอร์เมทรินและโฟซาโลน แต่ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

6. หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
  • พ่นด้วยสารไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน หรือสารไดอะซินอน แต่ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

7. เพลี้ยแป้ง

การกำจัดเพลี้ยแป้ง
  • หากพบ ทำการตัดแต่งผลอ่อนที่พบเพลี้ยแป้งเผาทำลาย  ให้โรยสารคาร์บาริลรอบโคนต้นป้องกันการแพร่ระบาดของมดดำ  ในกรณีที่พบเพลี้ยแป้งหลังตัดแต่งผลครั้งสุดท้าย  ควรพ่นด้วยสารมาลา-ไธออน ร่วมกับ ปิโตรเลียมออยล์ หรือใช้สารคลอไพริฟอส พ่นเป็นจุดเฉพาะกลุ่มผลที่สำรวจพบการทำลาย และต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าทุเรียน
  • ให้ตัดและเผาทำลาย เมื่อพบ ผลทุเรียนที่เป็นโรค แล้วพ่นด้วยสารอีฟอไซท์อะลูมินั่ม หรือกรดฟอสฟอรัส ให้ทั่วต้นและหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 30 วัน

การดูแล ต้นทุเรียน อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันโรค

การรดน้ำ ต้นทุเรียน

  • น้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเกษตรกรรมทุกชนิด เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช น้ำ เป็นตัวกลางในการนำเอาอาหารจากดินสู่รากพืช ถ้าขาดน้ำเสียแล้ว อาหารในดิน หรือ ปุ๋ยที่ใส่ลงไปก็จะไม่มีประโยชน์ต่อต้นไม้เลย ดังนั้น หลังจากปลูกทุเรียนเสร็จแล้วต้องรดน้ำให้ทันที ทุเรียนต้นเล็กเมื่อปลูกใหม่ควรรดน้ำทุกวัน อย่างน้อย 1 เดือน จากนั้นในช่วงปีแรกอาจให้เพียงวันเว้นวันหรือ 2-3 วันครั้งแล้วแต่ความชื้นของดินบริเวณโคนต้น โดยรดครั้งละประมาณ 5 ลิตร และต้องเพิ่มให้มากขึ้นทุกปี สังเกตดูว่าดินนั้นซึมน้ำได้รวดเร็วหรือไม่ ถ้าซึมได้รวดเร็วก็ควรรดน้ำให้มากขึ้นเล็กน้อย และอาจช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ไม่ให้ระเหยเร็วโดยการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมดินโคนต้น เมื่อความชื้นสูงหรือฝนตกจึงเอาออก เพราะถ้าโคนแจะทำให้เกิดโรคเน่าได้ง่าย ยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลวกซึ่งเป็นศัตรูของทุเรียน

    วิธีการรดน้ำ ในที่ที่การทำสวนทุเรียนแบบยกร่องไม่ควรใช้แครงสาดทุเรียนที่ปลูกใหม่ๆ เพราะจะทำให้ต้นทุเรียนโยกคลอนชะงักการเจริญเติบโต ควรใช้วิธีการตักรดโคนต้นโดยเฉพาะ อย่ารดจนน้ำนองบ่าออกมานอกบริเวณโคก เพราะจะทำให้ดินโคกพังทลายและน้ำชะล้างหน้าดินไปเสียหมด เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วจึงใช้วิธีสาดเอาได้
    ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ การรดน้ำวันเว้นวันอาจไม่สะดวก ถ้ายิ่งใช้เครื่องยนต์แบบเคลื่อนที่ด้วยยิ่งไม่สะดวก บางสวนอาจทำแบบร่อง บางสวนอาจใช้วิธีวางท่อในสวนแล้วใช้สายพลาสติกต่อ ถ้าใช้สายพลาสติกต่อน้ำมารดควรใช้วิธีประมาณเอาพอให้ดินอิ่มตัวราว 10 – 20 นาทีแล้วแต่ชนิดของดินเหนียวต้องใช้เวลานานกว่าเพราะน้ำซึมลงได้ยาก ควรสังเกตดินในเรือนพุ่มถ้าเห็นว่าดินมีความชื้นดีอยู่ไม่ต้องรดน้ำให้มาก
          ในช่วง 2-3 ปีแรก อย่าปล่อยให้ทุเรียนที่ขาดน้ำนานๆ ในฤดูแล้งทุเรียนจะแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด ใบเหี่ยวเฉาในเวลากลางวัน สีของใบไม่สดใส ใบไม่เป็นมันเหมือนปกติ ขอบใบจะมีสีเหลืองและไหม้จากปลายใบเข้ามาทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตในที่สุด ใบก็จะร่วงผลัดใบ ถ้าไม่รีบให้น้ำต้นทุเรียนจะตายทั้งกิ่ง หรืออาจตายทั้งต้นเลยก็ได้ ดังนั้น การรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ น้ำมีส่วนสัมพันธ์กับคุณภาพของเนื้อทุเรียน เนื้อทุเรียนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของใบ ถ้าขาดน้ำใบทุเรียนจะร่วง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงผลและเนื้อทุเรียนด้วย

    เทคนิค นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่ใช้น้ำแหล่งน้ำธรรมชาติ และมีโอกาสเจอ “ปัญหาน้ำเค็ม”  จากน้ำทะเลหนุน หรือน้ำใต้ดินมีความเค็ม เกษตรกรควรวัดค่าน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยมาตรการวัดน้ำเค็มนั้นจะมี 2 แบบ คือ หนึ่งเครื่องวัดน้ำเค็มที่มีหน่วยวัดเป็น ppm (ช่วงค่า 0-9990 ppm) สอง เครื่องวัดที่เกษตรกรในจังหวัดนนทบุรีใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งมีหน่วยเป็น ppt (ช่วงค่า 1.0 – 70.0 ppt)  โดยน้ำที่สามารถน้ำมาใช้รดต้นทุเรียนได้จะต้องอยู่ที่ค่าต่ำกว่า 0.3 ppt หรือ ต่ำกว่า 300 ppm  นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือ “น้ำฝน”  กล่าวคือ โดยปกติน้ำฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าเป็นน้ำที่ไม่มีความเค็ม แต่เมื่อน้ำฝนนั้นได้ชะผ่านหน้าดินที่มีความเค็มสะสมอยู่ลงสู่ท้องร่องสวน  จะทำให้น้ำในท้องร่องมีความเค็มได้  ดังนั้น เกษตรกรจึงควรวัดค่าน้ำก่อนที่จะนำมาใช้รดต้นทุเรียนทุกครั้ง

วัคซีนพืชบิ๊ก กับ ทุเรียน

** การฉีดพ่น วัคซีนพืชบิ๊ก ให้ต้นทุเรียน ตามโปรแกรม จะช่วยป้องกันโรคต่างๆที่เกิดจาดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคพืชได้ **

การให้ปุ๋ยต้นทุเรียน

  • การให้ปุ๋ยต้องคำนึงถึงความต้องการธาตุอาหารของทุเรียนในระยะเวลานั้นๆ เป็นหลัก เช่น ระยะการเจริญทางกิ่งใบทุเรียนต้องการไนโตรเจนมาก ก่อนออกดอกเป็นช่วงที่ต้องทำให้ทุเรียนหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบเพื่อเตรียมออกดอก ปุ๋ยที่จะใส่ต้องมีไนโตรเจนลดลง เพิ่มปุ๋ยฟอสเฟตและโปแตสเซียมสูง เป็นต้น
    การใส่ปุ๋ยให้กับทุเรียนจึงต้องให้สอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโตการใส่ปุ๋ยผิดเวลาอาจเกิดผลเสียและเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ แต่เนื่องจากการใส่ปุ๋ยให้แก่ทุเรียนขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดเป็นสูตรตายตัว หรือมีการทดลองอย่างจริงจัง และดินของแต่ละท้องที่ที่มีการปลูกทุเรียนก็แตกต่างกันไป การที่จะใส่ปุ๋ย
    การใส่ปุ๋ยทุเรียนเริ่มตั้งแต่การเตรียมโคกปลูก คือผสมแกลบดิบและปุ๋ยคอกบนโคก หรือใส่เศษหญ้าและใบไม้แห้ง ผสมคลุกเคล้ากันไปหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้สูงอย่างน้อย 20 – 30 เซนติเมตร ส่วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ยังไม่จำเป็นต้องใช้

    ปุ๋ยทุเรียนในช่วง 2 ปีแรก หลังปลูกยังไม่ให้ผล เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก เพราะความสำเร็จในการทำสวนทุเรียนในช่วงนี้จำเป็นต้องบำรุงรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต แม้ว่าต้นทุเรียนเล็กยังต้องการปุ๋ยไม่มากนัก  การใส่อาจขุดเป็นร่องตรงระดับปลายราก กว้างราว 1 หน้าจอบ ลึก 3 – 4 นิ้ว ขุดเป็นวงกลมรอบต้นแล้วโรยปุ๋ยลงในร่องรอบโคนต้นที่ขุดไว้ ใช้ดินกลบปุ๋ยให้มิด ถ้าเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่จนเกือบเต็มร่องที่ขุดไว้ แล้วใช้ดินกลบ

วัคซีนพืชบิ๊กทรี สูตรผลไม้
วัคซีนพืช บิ๊ก 3 สูตรไม้ผล

การกำจัดวัชพืช เพื่อ ป้องกัน โรคทุเรียน

  • การป้องกันวัชพืชในสวนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ในการทำสวนทุเรียน ทุเรียนซึ่งมีรากอาหารอยู่ในระดับผิวดิน ถ้าปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังนอกจากจะแย่งอาหารและน้ำจากต้นทุเรียนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรู โรคทุเรียน ได้ด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาสวนให้ปราศจากวัชพืชต่างๆ ได้ ก็ต้องคอยดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นคลุมยอดทุเรียนในระยะแรกได้ ซึ่งต้องทำการดายหรือถากถางออกเป็นครั้งคราว ในสวนทุเรียนที่เป็นที่ดอนอย่างน้อยต้องทำการเก็บวัชพืชปีละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง คือ กลางฤดูฝนขณะฝนทิ้งช่วงซึ่งจะอยู่ประมาณเดือนกรกฎาคม และปลายฤดูฝน หลังจากหมดฤดูฝนแล้วประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม ซึ่งวัชพืชที่ถูกกำจัด เมื่อแห้งตายก็จะกวาดเข้าคลุมต้นทุเรียนที่ปลูกได้อีก

    การป้องกันกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งคือ การปลูกพืชคลุมหรือพืชแซม เช่น กล้วย หรือพืชคลุมชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้จะช่วยคลุมไม่ให้วัชพืชเจริญงอกงามได้เร็ว โดยเฉพาะพืชคลุมดินจะคลุมจนวัชพืชตายหมด พืชคลุมดินเหล่านี้จะขึ้นคลุมปิดบังแสงแดดไม่ให้ส่องถึงผิวดินทำให้ดินไม่ร้อนจัดและชุ่มชื้นอยู่เสมอ รวมถึงทำให้การสูญเสียหน้าดินจากน้ำฝนน้อยลง 

     

5/5

* สั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม [email protected] // 091-865-8321

ติดต่อ เจ้าหน้าที่
Call Now Button