รวมกล้วยไทย กล้วยพันธุ์พื้นบ้าน หายาก สุดแปลก..!

หลายคนคงคุ้นเคยกับกล้วยหลังบ้านและที่วางขายอยู่ในตลาด เพียงไม่กี่ชนิดคล้ายๆ กับผม แต่คุณรู้มั้ยกล้วยที่เรารู้จัก มีมากกว่าร้อยชนิด ลองเอารายชื่อไปค้นหาดูใน Google บางชนิดก็คล้ายๆ กันแต่อาจมีการปรับปรุงสายพันธ์และสร้างเป็นชื่อใหม่ แต่ก็มีบางชนิดที่หลายคนเห็นอาจจะบอกว่าเป็นพันธ์กล้วยที่แปลกหายาก และอึ้งไปเหมือนกัน ช่วงนีกล้วยกระแสดี ผมได้ รวบรวมรายชื่อจากเว็บอื่นๆ มาลงไว้ให้ดูครับ

กล้วยไทย แปลกๆ

  กล้วยในเมืองไทยที่มีข้อมูลตอนนี้คือมีประมาณ 250 สายพันธุ์ แต่ที่รวบรวมมีประมาณ 220 กว่าสายพันธุ์ ยังมีไม่ครบทั้งหมด เพราะบางสายพันธุ์ตามหามาเป็นสิบปี แต่ก็หาไม่เจอ มีเพียงข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้เท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกล้วยกินได้หมดทุกชนิด กล้วยป่าก็กินได้แต่รสชาติจะไม่อร่อย เพราะมีเม็ดเยอะ  บางคนก็ไม่ชอบ อย่างกล้วยโทน กล้วยนวล ที่ปลูกทางภาคอีสาน บางคนชอบมาก เนื้อจะหอมหวานแต่มีเม็ด ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน  ช่วงนี้ กล้วยใบด่าง กระแสดีมาก จึงทำให้กล้วยไทยแปลกๆ ขายดีไปด้วย 

พันธ์กล้วยไทย ที่มีมากกว่า 200 สายพันธ์

1. กล้วยน้ำว้าดำ
2. กล้วยน้ำว้านวลจันทร์
3. กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
4. กล้วยน้ำว้าค่อม
5. กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
6. กล้วยน้ำว้าลูกไส้ดำ
7. กล้วยน้ำว้าใส้แดง
8. กล้วยน้ำว้าเขียว
9. กล้วยน้ำว้าสวน
10. กล้วยน้ำว้าป่าโมก
11. กล้วยน้ำว้ามหาราช
12. กล้วยน้ำว้า 23 หวี
13. กล้วยน้ำว้าดง
14. กล้วยน้ำว้าด่าง
15. กล้วยน้ำว้ากาบขาว
16. กล้วยหอมทองไต้หวัน
17. กล้วยหอมกระเหรี่ยง
18. กล้วยหอมทองปอก
19. กล้วยหอมทิพย์
20. กล้วยหอมเขียวคอหัก
21. กล้วยหอมจันทร์
22. กล้วยหอมเครือแฝด ( มาฮอย )
23. กล้วยหอมแกรนเนนท์
24. กล้วยหอมวินเลี่ยม
25. กล้วยหอมเขียวค่อม
 
 
กล้วยน้ำว้าค่อมเตี้ยด่าง
กล้วยน้ำว้าค่อมเตี้ยด่าง
 
26. กล้วยหอมทูม๊อค
27. กล้วยหอมเขียวต้นสูง
28. กล้วยหอมจำปา
29. กล้วยหอมพม่า
30. กล้วยหอมแคระ
31. กล้วยหอมอัฟริกา
32. กล้วยหอมไฮเกท
33. กล้วยหอมทองป่า
34. กล้วยหอมใช้
35. กล้วยหอมศรีษะเกษ
36. กล้วยหอมทองไทย
37. กล้วยหอมญี่ปุ่น
38. กล้วยหอมมาเลเซีย
39. กล้วยหอมทองสั้น
40. กล้วยหอมพระปะแดง
41. กล้วยไข่กำแพงเพชร
42. กล้วยไข่พระตะบอง
43. กล้วยไข่มาเลย์
44. กล้วยไข่ทองร่วง
45. กล้วยไข่ทองแขก
46. กล้วยไข่ทองเงย
47. กล้วยไข่โบราณ
48. กล้วยไข่จีน
49. กล้วยไข่เกษตร
50. กล้วยไข่ชุมแพ
 
51. กล้วยไข่ศรีษะเกษ
52. กล้วยหักมุกทอง
53. กล้วยหักมุกนวล
54. กล้วยหักมุกเขียว
55. กล้วยหักมุกพม่า
56. กล้วยตานีดำ
57. กล้วยตานีขาว
58. กล้วยตานีหนู
59. กล้วยตานีอีสาน
60. กล้วยนมหมี
61. กล้วยนมสาว
62. กล้วยนมแพะ
63. กล้วยนมนาง
64. กล้วยนมสวรรค์
65. กล้วยน้ำนม
66. กล้วยน้ำนมเชียงใหม่
67. กล้วยน้ำน้ำนมราชสีห์
68. กล้วยน้ำไท
69. กล้วยน้ำ
70. กล้วยน้ำฝาด
71. กล้วยน้ำฝาดโตนด
72. กล้วยน้ำเชียงราย
73. กล้วยน้ำกาบดำ
74. กล้วยน้ำหมาก
75. กล้วยหิน
 
 
 
76. กล้วยซาบ้า
77. กล้วยเล็บช้างกุด
78. กล้วยพม่าแหกคุก
79. กล้วยเทพรส
80. กล้วยนากไทย
81. กล้วยนากยักษ์ทองผาภูมิ
82. กล้วยนากค่อม
83. กล้วยนากอิสราเอล
84. กล้วยนากอัฟริกา
85. กล้วยกุ้งแดง
86. กล้วยกุ้งเขียว
87. กล้วยกุ้งเขียวค่อม
88. กล้วยตีบ
89. กล้วยส้ม
90. กล้วยกรบูน
91. กล้วยตำนวน
92. กล้วยนิ้วมือนาง
93. กล้วยเล็บมือนาง
94. กล้วยหวาน
95. กล้วยมัน
96. กล้วยงาช้าง
97. กล้วยกล้าย
98. กล้วยสายน้ำผึ้ง
99. กล้วยทองขี้แมว
100. กล้วยกรัน
 
กล้วยนาก จัดเป็นไม้มงคล
 
101. กล้วยนิ้วนางรำ
102. กล้วยสาวกระทืบหอ
103. กล้วยร้อยหวี
104. กล้วยหก
105. กล้วยนางพญา
106. กล้วยแซ่ม้า
107. กล้วยนิ้วจระเข้
108. กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์
109. กล้วยนิ้วจระเข้อัมพวา
110. กล้วยทองรักษา
111. กล้วยเทพพนม
112. กล้วยปิซังอัมเปรียง
113. กล้วยปิซังปาปาน
114. กล้วยปิซังอัมบน
115. กล้วยปิซังซูซู
116. กล้วยปิซังซิลิน
117. กล้วยแซลอ
118. กล้วยตะกุ่ย
119. กล้วยสา
120. กล้วยโอกินาวาโรบัสต้า
121. กล้วยแลนดี้
122. กล้วย FHIA-03
123. กล้วยตะโหลน
124. กล้วยกาไน
125. กล้วยนีพูแวน
 
กล้วยนิ้วจระเข้
 
 
126. กล้วยสามเดือนพิจิตร
127. กล้วยเนื้อทอง
128. กล้วยทัคโล่ทัมบากา
129. กล้วยโรส
130. กล้วยขม
131. กล้วยขมบุรีรัมย์
132. กล้วยทองขี้แมว
133. กล้วยทองส้ม
134. กล้วยส้ม
135. กล้วยกอกหมาก
136. กล้วยฮั้วเมา
137. กล้วยเข็ม
138. กล้วยทองสา
139. กล้วยทองดอกหมาก
140. กล้วยตีบเล็ก
141. กล้วยตีบอุบล
142. กล้วยตีบมุกดาหาร
143. กล้วยตีบค่ำ
144. กล้วยลามัท
145. กล้วยนางกลาย
146. กล้วยหอมเงาะ
147. กล้วยขนุน
148. กล้วยทุเรียน
149. กล้วยจี
150. กล้วยง้าว
151. กล้วยแปซิฟิกแผลนเทน
152. กล้วยฮอลดูลัท
153. กล้วยผาปลีแดง
154. กล้วยผาปลีเหลือง
155. กล้วยโทน
กล้วยเทพพนม
กล้วยเทพพนม

การจำแนกสายพันธุ์ กล้วยไทย

หลังจากที่นักวิชาการชาวตะวันตกได้เริ่มจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกชนิดตามวิธีของซิมมอนดส์ และเชบเฟิร์ด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า กล้วยที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบันมีบรรพบุรุษอยู่เพียง ๒ ชนิดเท่านั้น คือ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมทางพันธุกรรมเป็น AA ส่วนกล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนม เป็น BB และกล้วยลูกผสมของทั้ง ๒ ชนิด มีจีโนมเป็น AAB, ABB, AABB และ ABBB นอกจากนี้ ซิมมอนดส์ยังได้จำแนกชนิดของกล้วยในประเทศไทยว่ามีอยู่ ๑๕ พันธุ์

ต่อมา นักวิชาการไทยได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพันธุ์และชนิดของกล้วย คือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และปวิณ ปุณศรี ได้ทำการรวบรวมพันธุ์กล้วยที่พบในประเทศได้ ๑๒๕ สายพันธุ์ และจากการจำแนกจัดกลุ่มแล้ว พบว่ามี ๒๐ พันธุ์ หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๖ เบญจมาศ ศิลาย้อย และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศไทย และรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวบรวมได้ทั้งหมด ๓๒๓ สายพันธุ์ แต่เมื่อจำแนกชนิดแล้ว พบว่ามีอยู่เพียง ๕๓ พันธุ์ หลังจากสิ้นสุดโครงการ ยังได้ทำการรวบรวมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ ๗๑ พันธุ์ รวมทั้งกล้วยป่าและกล้วยประดับ ทั้งนี้ไม่นับรวมพันธุ์กล้วยที่ได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันกล้วยในเมืองไทย ซึ่งจำแนกชนิดตามจีโนม มีดังนี้

 

 

๑. กลุ่ม AA

ที่พบในประเทศไทยมี กล้วยป่า สำหรับกล้วยกินได้ในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่ กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจันทร์ กล้วยไข่ทองร่วง กล้วยไข่จีน กล้วยน้ำนม  กล้วยไล กล้วยสา กล้วยหอม กล้วยหอมจำปา กล้วยทองกาบดำ

๒. กลุ่ม AAA

กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวน โครโมโซม 2n = 33 ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสดเช่นกันได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยนาก กล้วยครั่ง กล้วยหอมเขียว กล้วยกุ้งเขียว กล้วยหอมแม้ว กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยคลองจัง

๓. กลุ่ม BB

ในประเทศไทยจะมีแต่กล้วยตานี  ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย รับประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก แต่คนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก ไม่มีกล้วยกินได้ในกลุ่ม BB ในประเทศไทย แต่พบว่ามีที่ประเทศฟิลิปปินส์

๔. กลุ่ม BBB

กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานี (Musa balbisiana) เนื้อไม่ค่อยนุ่ม ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อสุกก็ยังมีแป้งมากอยู่ จึงไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม เช่น กล้วยเล็บช้างกุด

๕. กลุ่ม AAB

กล้วยกลุ่มนี้เกิดจากการผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี เมื่อผลสุก มีรสชาติดีกว่ากล้วยกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้วยน้ำ กล้วยน้ำฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยไข่โบราณ กล้วยทองเดช กล้วยศรีนวล กล้วยขม กล้วยนมสาว แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางชนิดที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะค่อนข้างแข็ง มีแป้งมาก เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่าง sub species กัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า plantain subgroup ซึ่งจะต้องทำให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้วยกล้าย กล้วยงาช้าง กล้วยนิ้วจระเข้ กล้วยหิน กล้วยพม่าแหกคุก

๖. กลุ่ม ABB

กล้วยกลุ่มนี้เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่ ไม่นิยมรับประทานสด เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก บางครั้งมีรสฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และเชื่อม จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่ กล้วยหักมุกเขียว กล้วยหักมุกนวล กล้วยเปลือกหนา กล้วยส้ม กล้วยนางพญา กล้วยนมหมี กล้วยน้ำว้า สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้า ทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบ เหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด

๗. กลุ่ม ABBB

กล้วยในกลุ่มนี้เป็นลูกผสมเช่นกัน จึงมีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ กล้วยเทพรส หรือกล้วยทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางทีมีดอกเพศผู้หรือปลี บางทีไม่มี ถ้าหากไม่มีดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมีผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและหลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี หรือบางครั้งมี ๒ – ๓ ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วยทิพรส กล้วยเทพรสที่สุกงอมจะหวาน เมื่อนำไปต้มมีรสฝาด

๘. กลุ่ม AABB

เป็นลูกผสมมีเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่ากับกล้วยตานี กล้วยในกลุ่มนี้มีอยู่ชนิดเดียวในประเทศไทย คือ กล้วยเงิน ผลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกล้วยไข่ เมื่อสุกผิวสีเหลืองสดใส เนื้อผลสีส้ม มีแป้งมาก รับประทานผลสด

นอกจากกล้วยดังที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีกล้วยป่าที่เกิดในธรรมชาติซึ่งมีเมล็ดมาก ทั้งกล้วยในสกุล Musa acuminata และ Musa itinerans หรือที่เรียกว่า กล้วยหก หรือกล้วยอ่างขาง และกล้วยป่าที่เป็นกล้วยประดับ เช่น กล้วยบัวสีส้ม และกล้วยบัวสีชมพู

กล้วยนมสาว เค้าว่าอร่อยที่สุด

ขอบคุณข้อมูล ภาพจาก บ้านและสวน 

 

* สั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม [email protected] // 091-865-8321

* สั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม [email protected] // 091-865-8321