วัคซีนพืชบิ๊ก

ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัคซีนพืชบิ๊ก
การทำปุ๋ยคอกหมัก

…………….มีคำโบราณกล่าวไว้ว่า  ” พืชเอาใบให้ใส่ปุ๋ยขี้วัว  พืชเอาผลให้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่  พืชเอาหัวในดินให้ใส่ปุ๋ยขี้หมูถึงจะดี ”  ปุ๋ยคอกจัดเป็นปุ๋ยที่อยู่ในประเภทของปุ๋ยอินทรีย์โดยปุ๋ยคอกจะผลิตจากมูลสัตว์เลี้ยง  แน่นอนว่าสัตว์เลี้ยงในแต่ละพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคย่อมไม่เหมือนกันเช่นนั้น  เกษตรกรจึงสามารถใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ที่เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลาย วันนี้เราจะพูดถึง  ปุ๋ยคอก  ที่เมืองไทยของเรานิยมใช้กัน  เช่น  มูลโค  มูลกระบือ  มูลสุกร  มูลม้า  และมูลของสัตว์ปีก  เป็นต้น  มูลสัตว์ถือเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีธาตุอาหารหลัก N  P  K โดยตรงมากกว่าวัตถุดิบธรรมชาติชนิดอื่น  โดยมูลสัตว์แต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักแตกต่างกัน  เช่นนั้น  หลักในการพิจารณาการเลือกใช้ปุ๋ยคอก  จึงจำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยหลักอยู่ 2 ข้อคือ

  1. ชนิดพืชที่ต้องการปลูก
  2. สภาพของดินที่ใช้ปลูก
                 ถ้าสภาพของดินขาดธาตุอาหารหลักตัวใด  เราอาจเลือกใช้มูลสัตว์ที่มีธาตุอาหารหลักตัวนั้น  ซึ่งมีปริมาณธาตุดังกล่าวสูง  และพืชชนิดที่เราเพาะปลูกอาจมีความต้องการร้านอาหารหลักตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณมาก  ทำให้ธาตุอาหารหลักที่มีอยู่ในดินไม่เพียงพอ  อีกครั้งการเพาะปลูกซ้ำๆในระยะเวลานาน  อาจทำให้สภาพดินเกิดเสื่อมหมายถึง  ธาตุอาหารบางตัวที่พืชต้องการในปริมาณสูงหมดไปจากดินที่ใช้เพาะปลูก  เราก็สามารถพิจารณาเลือกมูลสัตว์ที่เหมาะสมมาใช้ได้นั่นเอง
  • ข้อดีของปุ๋ยคอก  ก็คือ  นอกจากจะให้ธาตุอาหารหลักของพืชแล้ว  ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินไปในตัว  ด้วยธาตุอาหารเสริมต่างๆ เช่น แมกนีเซียม  กำมะถัน  แมงกานีส  สังกะสี  ทองแดง  โบร่อน  และโมลินเดน
              ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความต้องการของพืช  และพิจารณาถึงสภาพของดิน  แล้วจึงมาพิจารณาถึงปุ๋ยข้อมูลสัตว์ที่เราเลือกใช้  เราไม่จำเป็นต้องเลือกใช้มูลสัตว์เพียงชนิดเดียวก็ได้  เราสามารถใช้มูลสัตว์หลายชนิดรวมกันเพื่อให้ธาตุอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด  
            

ตารางเปรียบเทียบธาตุอาหารในปุ๋ยคอก 

มูลสัตว์ไนโตรเจน ( N )ฟอสฟอรัส ( P ) โพแทสเซียม ( K )
มูลโค 1.910.561.40
มูลกระบือ1.230.550.69
มูลไก่3.77
1.891.76
มูลเป็ด2.151.131.56
มูลแกะ1.870.790.92
มูลม้า2.330.831.31
มูลสุกร2.801.361.18
มูลค้างคาว1.0514.821.84
มูลใส้เดือน2.051.931.50

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยคอก 

             อย่างไรก็ตาม  การใช้ปุ๋ยคอกสดๆนั้น  อาจทำอันตรายต่อร่างพืชได้  วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ปุ๋ยคอกคือ  นำไปหมักตามสูตรชีวภาพเสียก่อนนำไปใช้  เพราะความสดหรือความแห้งพอดีของปุ๋ยคอก  มันไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญแต่ประเด็นสำคัญของปุ๋ยคอกจะอยู่ที่ว่า  ธาตุอาหารหลักที่ปุ๋ยคอกนั้นมีอยู่ย่อยสลายหรือยัง  ถ้าเรานำปุ๋ยคอกไปผ่านกระบวนการหมัก  เพื่อให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์เสียก่อนเมื่อนำไปใส่พืชแล้ว  พืชสามารถดูดอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้เลย  ไม่ต้องรอ  แต่ถ้าเราใช้ปุ๋ยคอกแบบโดยตรง  ไม่ผ่านกรรมวิธีการหมัก  กว่าจุลินทรีย์จะเกิดกว่าจะเพิ่มจำนวน  กว่าจะย่อยสลายได้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ  และที่สำคัญกว่ากระบวนการหมักจะเสร็จสิ้น  ความร้อนก็จะเผารากพืชจนสุกเน่าตายไปเสียก่อน 

การทำปุ๋ยคอกหมัก

ดังที่กล่าวไปแล้ว  ว่าการนำปุ๋ยคอกสดๆไปใช้  อาจสร้างความเสียหายมากกว่าผลดี แล้วการทำปุ๋ยคอกหมัก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  เตรียมอุปกรณ์ได้เลยครับ

  1. ปุ๋ยคอก   1 ส่วน ( 1 กระสอบ )
  2. แกลบ    1 ส่วน ( 1 กระสอบ )
  3. รำ       1 ส่วน ( 1 กระสอบ )
  4. น้ำ EM ขยาย   1 ลิตร
  5. กากน้ำตาล      1 ลิตร
  6. น้ำสะอาด   25 ลิตรหรือมากกว่า

มาเริ่มการทำปุ๋ยคอกหมักกันเลย

1.ตากแดดให้แห้ง 1-2 แดด ถ้าแห้งดีแล้วก็ไม่ต้องตากครับ

การทำปุ๋นคอกหมัก

2.เมื่อปุ๋ยคอกแห้งแล้ว ก็เตรียมส่วนผสมให้พร้อม ปุ๋ยคอก ,รำ ,ข้าวเปลือก = 1:1:1

การทำปุ๋ยคอกหมัก

3.ใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน

การทำปุ๋ยคอกหมัก

4.เติมน้ำ EM ขยาย และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ ผสมน้ำให้เข้ากัน

การทำปุ๋ยคอกหมัก

5.จากนั้นใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้เวลาพอสมควรครับ ลองใช้มือบีบดู ไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไป อย่างที่บอกตอนต้น ถ้ายังแห้งอยู่ เพิ่มน้ำอีกได้เลยโดยไม่จำเป็นต้อง 25 ลิตรเป๊ะ แล้วใช้จอบเกลี่ยไปด้วยเรื่อย ๆ

การทำปุ๋ยคอกหมัก

6.เสร็จแล้วตักใส่ไว้ในกระสอบ ตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ในวันแรกผมปิดปากถุง ปรากฎว่าปุ๋ยคอกร้อนมาก เราจึงจำเป็นต้องเปิดปากกระสอบให้ความร้อนของตัวปุ๋ยระบายออกครับ

การทำปุ๋ยคอกหมัก

7.ผ่านไป 2 วัน เริ่มหายร้อนแล้ว ตัวปุ๋ยเองเริ่มมีการย่อยสลาย สังเกตจากมีฝ้าขาว ๆ อยู่ทั่วไปครับ

การทำปุ๋ยคอกหมัก

8.ผ่านไป 3 วัน บางส่วนเริ่มย่อยสลายแล้ว

การทำปุ๋ยคอกหมัก

9.ผ่านไป 5 วัน ลองใช้มือขยำดูรู้สึกว่าจะเป็นขุย ๆ แล้วครับ

การทำปุ๋ยคอกหมัก

10.หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 1 อาทิตย์ก็สามารถนำไปใช้กับผลผลิตของเราได้แล้วครับ ตอนนี้ผมนำกระสอบมาเทนะครับ ที่เป็นก้อนก็ใช้มือขย้ำให้แตก รู้สึกว่าจะแตกง่าย ๆ เลยครับ

การทำปุ๋ยคอกหมัก

จากนั้นก็นำไปใช้ได้เลยครับ

วิดีโอวิธีทำปุ๋ยคอกหมัก

ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก https://www.organicfarmthailand.com ครับ

 

ออมดี ปุ๋ยอินทรีย์ ชนิดน้ำ มาตรฐาน ออแกนิกส์ไทยแลนด์

ติดต่อ เจ้าหน้าที่
Call Now Button